ปวดหัวไมเกรน อาการปวดหัวที่รบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน กินยาแก้ปวดหัวก็ไม่ช่วยไม่ได้มากนัก ทำเอาไม่อยากทำอะไรไปตลอดทั้งวัน แล้วยิ่งเราปล่อยไว้ไม่รักษาจะทำให้อาการปวดไมเกรนนี้กลายเป็นแบบเรื้อรังได้อีกด้วย ดังนั้นครั้งนี้เราจะมาดูกันว่าปวดหัวไมเกรนคืออะไร สาเหตุเกิดจากไหน พร้อมแนะนำวิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน ถ้าสนใจแล้วไปเข้าเนื้อหากันเลย
ปวดหัวไมเกรน คืออะไร
ปวดไมเกรน (Migraine) เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองแบบชั่วคราวไปกระตุ้นก้านสมองให้หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดหัวตุ๊บๆ เป็นระยะ อาการปวดจะรุนแรงในช่วงแรกๆ แล้วค่อยๆ ปวดน้อยลงจนหายไปในที่สุด อาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะปวดหัวข้างเดียวแต่ในบางรายก็ปวดหัวทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และผู้ที่อยู่ในภาวะเครียดเป็นประจำ
ปวดหัวไมเกรนเป็นยังไง
อาการปวดหัวไมเกรน จะแสดงออกมาเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะก่อนมีอาการ (Prodrome) – อารมณ์ไม่มั่นคง ตึงตามต้นคอ อยากอาหาร ประมาณ 1 ถึง 2 วัน
- ระยะเตือนอาการ (Aura) – เห็นแสงจ้าระยิบระยับ ตาแพ้แสง หรือเห็นแสงบิดเบี้ยว ก่อนปวดหัวประมาณ 1 ชั่วโมง
- ระยะปวดศีรษะ (Headache) – มีอาการปวดหัวตุ๊บๆ ปวดหัวแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
- ระยะหลังมีอาการ (Postdrome) – หลังจากหายจากอาการปวดหัวมักมีอาการ อ่อนเพลีย เวียนหัว อ่อนแรง
สาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรน
อาการปวดไมเกรนยังมีสาเหตุที่ไม่แน่ชัด แต่ปัจจัยเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้
- ความเครียด ซึมเศร้า
- รับประทานอาหารไม่เพียงพอ อดอาหารต่อเนื่อง
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- แพ้กลิ่นที่รุนแรง
- ความเหนื่อยล้าจากการหักโหม
- การสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผลข้างเคียงจาก ออฟฟิศซินโดรม
- การใช้ยาบางชนิด
วิธีดูแลตัวเองให้หายจากไมเกรน
- ลดความเครียด หากิจกรรมช่วยผ่อนคลาย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หักโหมมากเกินไป
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน
- หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นอย่างคาเฟอีน ผงชูรส และแอลกอฮอล์
- หากมีอาการปวดให้หยุดพักในที่เย็น และเงียบสงบ
- การใช้ยารักษา ตามคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกร
สรุปเรื่อง ปวดหัวไมเกรน
ปวดไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติชั่วขณะ ทำให้หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองบีบและคลายตัวมากเกินไป ทำให้มีอาการปวดหัวตุ๊บๆ อาจมีอาการอาเจียนหรือเวียนร่วมด้วย อาการปวดมีทั้งแบบปวดหัวข้างเดียว และปวดพร้อมกันทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่มักพบบ่อยในผู้ที่อยู่ในภาวะเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ สามารถป้องกันได้โดยการดูแลตัวเองเกี่ยวกับการจัดการความเครียด ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น เพียงเท่านี้อาการปวดหัวจากไมเกรนก็จะเริ่มทุเลาลง หากทำตามนี้แล้วอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้เข้ารับการรักษาและรับยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรปล่อยไว้นานจนกลายเป็นโรคไมเกรนแบบเรื้อรัง สำหรับเรื่องหน้าจะเป็นอะไรติดตามได้เลยที่ lookhealthy.live