อ้วนลงพุง ถุงไขมันสะสมโรคที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

สารบัญบทความ

คำว่า”อ้วน”แค่ได้ยินทุกคนก็รู้สึกไม่ดีแล้ว เพราะความอ้วนนำแต่สิ่งไม่ดีตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปร่างไม่ดีทำให้ขาดความมั่นใจ หรือโรคภัยต่างๆ เรียงคิวต่อกันมาไม่ขายสาย โดยเฉพาะคนที่อ้วนมากๆ มีน้ำหนักตัวเยอะ มีพุงใหญ่ ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนมากกว่าคนปกติ ดังนั้นครั้งนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอันตรายของ อ้วนลงพุง กัน พร้อมคำแนะนำว่า อ้วนลงพุงลดยังไง ถ้าเริ่มสนใจแล้วไปดูเนื้อหากัน

 

อ้วนลงพุง คืออะไร

อ้วนลงพุง(Metabolic Syndrome) คือ ภาวะที่มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องหรือช่องท้องมากเกินไป เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารในร่างกายจนทำให้มีไขมันสะสมที่หน้าท้องมากกว่าปกติ สังเกตุได้จากหน้าท้องและรอบเอวที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งไขมันเหล่านี้จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนจำพวกโรคไม่ติดต่อ เช่น ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ไขมันพอกตับ และอื่นๆ อีกมากมาย คนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมากร่วมด้วยยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะอ้วนลงพุงและเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้มากกว่าปกติ

 

อาการของอ้วนลงพุง

การอ้วนลงพุงนั้นไม่แสดงอาการใดๆ นอกจากขนาดหน้าท้องที่โตเด่นชัดจนทำให้รู้สึกไม่พอใจในรูปร่าง อาการป่วยจะมาจากโรคแทรกซ้อนมากกว่า หลักๆ ที่มักจะพบคือไขมันในเลือดจะสูงขึ้นทำให้มีความดันโลหิตสูง และการเผาผลาญพลังงานในร่างกายไม่ปกติจนมีน้ำตาลในเลือดสูงเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจตามมาได้ดังนี้

  • ไขมันอุดตัน
  • โรคความดัน
  • โรคหอบ
  • กรดไหลย้อน
  • โรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • นอนกรน
  • ไขมันพอกตับ
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  • มะเร็ง
  • ข้อเสื่อมจากน้ำหนักตัว

 

ดูยังไงว่ากำลังอ้วนลงพุง

วิธีการตรวจดูว่าตัวเองกำลังอ้วนลงพุงอยู่หรือไม่สามารถทำได้ง่ายๆ โดยให้วัดที่ เส้นร้อบพุง(วัดผ่านสะดือ) ถ้าขนาดเกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูงถือว่าเข้าข่ายอ้วนลงพุง ตัวอย่าง สูง 170 ซม. เส้นรอบพุงต้องไม่เกิน 85 ซม. หรือเทียบจากค่าเฉลี่ยของคนเอเชียจะอยู่ที่ไม่เกิน 90 ซม. สำหรับผู้ชาย และไม่เกิน 80 ซม. สำหรับผู้หญิง

หากต้องการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์จะตรวจจากความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และอื่นๆ ร่วมด้วย หากมีค่าวัดเกินกว่านี้ 2 ถึง 3 ข้อ ถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนลงพุง

  • ความดันโลหิตมากกว่า 130/65 มิลลิเมตรปรอท
  • ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ระดับคอเลสเตอรอลดี(HDL Cholesterol) ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับเพศชาย หรือต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับเพศหญิง
อ้วนลงพุง อ้วนลงพุงลดยังไง
เครดิตภาพประกอบ : Image by valuavitaly on Freepik

 

สาเหตุของการอ้วนลงพุง

อ้วนลงพุงมักพบบ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ดังนั้นสาเหตุหลักๆ จึงมาจากกินอาหาร การขาดการออกกำลังกาย และภาวะดื้ออินซูลินของร่างกาย นอกจากนี้บุคคลเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นภาวะอ้วนลงพุง

  • กินอาหารมากเกินความต้องการ กินอาหารให้พลังงานสูง หรืออาหารติดมัน
  • ขาดการออกกำลังกาย หรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
  • อายุที่มากขึ้น
  • กรรมพันธุ์
  • อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ยาบางชนิดที่ทำให้น้ำหนักขึ้น

 

อ้วนลงพุงลดยังไง

การอ้วนลงพุงสาเหตุมาจากเรื่องการกินและการออกกำลังกาย ดังนั้นเรามีคำแนะนำการแก้ปัญหาอ้วนลงพุงที่สามารถทำได้ง่ายๆ และทำได้ทันทีให้ลองทำตามกันดังนี้

  • กินอาหารแต่พอดี ไม่กินมากเกินไป
  • ไม่กินของติดมัน ของทอด
  • เน้นกินผัก และผลไม้ แทนแป้งและน้ำตาล
  • ลดของหวาน พยายามงดหวานหลังอาหาร
  • เลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือ 5 วันต่อสัปดาห์
  • ลดความเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

สรุปเรื่อง อ้วนลงพุง

อ้วนลงพุงคือการมีไขมันสะสมที่หน้าท้องมาเกินไปอาจเกิดจากความอ้วนหรือความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย อ้วนลงพุงนั้นไม่แสดงอาการใดๆ แต่ก็เป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับความดันและหลอดเลือดซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการกินและขาดการออกกำลังกายเป็นหลัก ดังนั้นถ้าอยากหายจึงทำได้ไม่ยากคือกินให้พอดี เลือกกินของมีประโยชน์ให้พลังงานไม่สูง และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็สามารถหายจากการอ้วนลงพุงได้แล้ว ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรรอติดตามได้เลยที่ lookhealthy.live แหล่งรวมเรื่องราวดีๆ สำหรับคนรักสุขภาพ

Share content

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ท้องผูก วิธีแก้ท้องผูก
สุขภาพ
ท้องผูก เบื่อเข้าห้องน้ำนานๆ อยากหายแก้ได้ไม่ยาก

ท้องผูก เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ต้องเคยเป็นกันสักครั้ง อาการเข้าห้องน้ำทีต้องนั่งนานๆ ออกแรงเบ่งก็ไม่ออกสักทีทำเอารู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว

Share content
ปวดหัวไมเกรน โรคไมเกรน ปวดหัวไมเกรนเป็นยังไง
รู้ทันโรค
ปวดหัวไมเกรน สาเหตุเกิดจากอะไร ปวดแบบไหนเรียกไมเกรน

ปวดหัวไมเกรน อาการปวดหัวที่รบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน กินยาแก้ปวดหัวก็ไม่ช่วยไม่ได้มากนัก ทำเอาไม่อยากทำอะไรไปตลอดทั้งวัน

Share content
error: Content is protected !!