ความเครียด หรือ ภาวะเครียด เกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าช่วงเวลาไหนของชีวิตซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแถมยังส่งผลร้ายต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก เพราะความเครียดทำให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานผิดปกติไป ภาวะเครียดนี้ยังก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้มากมาย และหนึ่งในโรคที่คนปัจจุบันเป็นกันบ่อย และมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ เครียดลงกระเพาะ ซึ่งมักเกิดในวัยทำงานที่มีความเครียดสูง ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันกับโรคนี้ว่า สาเหตุของเครียดลงกระเพาะ เกิดจากอะไร และจะมีวิธีไหนช่วยป้องกันได้บ้างไปติดตามกันเลย
เครียดลงกระเพาะ คืออะไร
เครียดลงกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่เกิดขึ้นตามชื่อของมัน เกิดขึ้นจากความเครียดส่งผลให้กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติไป มีอาการหลากหลายตั้งแต่ จุกเสียดลิ้นปี่ หรือหน้าอก อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ แน่นท้อง เรอเหม็นเปรี้ยว ท้องอืด ท้องผูก ซึ่งหากปล่อยไว้ก็จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น และนำโรคที่อาจร้ายแรงกว่านี้ตามมา หากรู้ตัวว่าเริ่มมีอาการ หรือภาวะเครียดควรปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกัน หรือเข้ารับการรักษาหากมีอาการป่วยเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมได้ที่อนามัย หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน

อาการ หรือผลกระทบของภาวะเครียดลงกระเพาะ
อาการของภาวะเครียดลงกระเพาะจะเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเป็นหลักตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะ จนไปถึงระบบลำไส้ ซึ่งหากปล่อยไว้จะเกิดโรคอื่นๆ ตามมามากมายตั้งแต่ แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ ระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ กรดไหลย้อน และอื่นๆ อีกมามาย อาการดังหัวข้อด้านล่างนี้คือผลกระทบของภาวะเครียดลงกระเพาะซึ่งอาจเกิดพร้อมกันได้มากกว่าหนึ่งอาการ
- กระเพาะอาหารหลั่งกรดย่อยมาก หรือน้อยเกินไปจนย่อยอาหารได้ไม่ดี
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง เรอบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน
- กล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร และหลอดอาหารมีการหดเกร็ง
- อาจเกิด กรดไหลย้อน ร่วมด้วยทำให้แสบร้อนกลางอก
- ท้องผูกจากลำไส้ใหญ่ตอบสนองต่อความเครียด
- ภูมิคุ้มกันในกระเพาะลดลง ส่งผลให้ติดเชื้อง่ายขึ้น
- ขับถ่ายเป็นเลือดหากเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
วิธีป้องกันอาการเครียดลงกระเพาะ
- พยายามลดความเครียด หากิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
- ปรึกษาเพื่อน หรือพูดคุยกับคนรอบตัวเพื่อคลายเครียด
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลาครบ 3 มื้อ
- ไม่กินอาหารรสจัด รถเค็มมากเกินไป
- ออกกำลังกายพอเหมาะ ช่วยเรื่องความเครียด และสุขภาพ
เป็นแล้วรักษายังไง
หากรู้ตัวว่ามีอาการของภาวะเครียดลงกระเพาะอาหารแล้ว จะต้องพยายามลดความเครียดพร้อมปรับพฤติกรรมการกินไปด้วยกัน โดยแนะนำให้ทำตามคำแนะนำดังนี้
- รับประทานอาหารย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา โจ๊ก ข้าวต้ม
- กินอาหารในปริมาณพอดี ไม่เยอะเกิน หรือน้อยเกินไป
- เลี่ยงการกินน้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ ที่สามารถกัดกระเพาะอาหาร
- หากจัดการกับความเครียดไม่ได้ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ
- หากมีอาการรุนแรง เช่น แผลในกระเพาะ ถ่ายเป็นเลือด ให้เข้ารับการรักษาโดยด่วน
สรุปเรื่อง เครียดลงกระเพาะ
เครียดลงกระเพาะอาหาร เป็นอีกโรคที่เกิดจากความเครียดส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติไป เกิดในวัยทำงานเป็นหลักที่อยู่กับความเครียด และการนั่งทำงานนานๆ อาการก็มีตั้งแต่ จุก เสียด แน่น คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย ไปจนถึงแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อนร่วม ซึ่งหากปล่อยไว้จะเกิดโรครุนแรงตามมาได้ หากพบว่ากำลังมีอาการดังกล่าวควรเข้ารับคำแนะนำเพื่อรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งในเรื่องการจัดการความเครียด และการกิน ซึ่งไม่แนะนำให้คลายเครียดโดยการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เพราะจะทำให้อาการแย่ลงมากกว่าเดิม
ฝากบทความที่น่าสนใจ >>> อาหารเพื่อสุขภาพ กินอย่างไรดีให้มีประโยชน์ต่อร่างกาย
เครดิตภาพปก >>> Image by drobotdean on Freepik