ฟันเหลือง ปัญหาคราบฟันบั่นทอนความมั่นใจ

สารบัญบทความ

จากครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงปัญหา กลิ่นปาก ที่เวลาพูดกับใครก็ทำให้สูญเสียความมั่นใจกันไปแล้ว ครั้งนี้เรามากับอีกปัญหาช่องปากที่ทำให้หลายคนกังวลใจไม่แพ้กันเวลาพูดคุยกับคนอื่นนั่นก็คือ ฟันเหลือง เป็นอีกปัญหาที่บั่นทอนความมั่นใจเป็นอย่างมาก อ้าปากทีไรพอมีคนมองก็ทำให้รู้สึกอาย ดังนั้นครั้งนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคราบฟันเหลืองกันว่า ฟันเหลืองเกิดจากอะไร วิธีแก้ฟันเหลือง ทำยังไงบ้าง ถ้าสนใจแล้วไปเข้าเนื้อหากัน

 

ฟันเหลือง สีฟันบั่นทอนความมั่นใจ

เลี่ยงไม่ได้เลยว่านอกจากรูปร่างดี ผิวสวยแล้ว การมีฟันขาวสะอาดจะทำให้ดูมีบุคคลิกภาพที่ดี ทำให้การมีคราบฟันเหลืองเป็นตัวทำลายบุคลลิกภาพและความมั่นใจเป็นอย่างมาก คราบฟันเหลืองนี้ คือคราบจุลินทรีที่เกาะอยู่บนผิวฟัน นานวันเข้าจะแข็งตัวและเกาะแน่นกลายเป็นคราบหินปูน และเมื่อมีการกินหรือดื่มอะไรเข้าไป อาหารก็จะไปเกาะที่คราบหินปูนนี้อีกที ทำให้คราบนี้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีคล้ำลง หากปล่อยไว้นานก็จะกลายเป็นปัญหาช่องปากในภายหลัง

ฟันเหลือง วิธีแก้ฟันเหลือง
เครดิตภาพประกอบ : Image by jannoon028 on Freepik

 

ฟันเหลืองเกิดจากอะไร

  • ดูแลความสะอาดช่องปากไม่ดี – การแปรงฟันไม่สะอาดจะหลงเหลือคราบจุลินทรีย์หรือเกิดคราบหินปูนบนผิวหรือซอกฟัน ปล่อยไว้นานก็จะกลายเป็บคราบเหลือง
  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ – เป็นสาเหตุต้นๆ ของคนที่มีปัญหาฟันเหลืองเลย เพราะสารเคมีจากบุหรี่จะสะสมและซึมเข้าไปในเนื้อฟันซึ่งการทำให้ฟันกลับมาขาวเป็นเรื่องยากมาก
  • ดื่มชาและกาแฟเป็นประจำ – ชาและกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีสีเข้ม เมื่อดื่มเป็นประจำอาจเกิดการสะสมของคราบสีบนผิวฟัน จะยิ่งเห็นชัดมากขึ้นหากมีคราบหินปูนอยู่ก่อนแล้ว
  • การใช้ยารักษาโรคบางชนิด – ยาบางชนิดส่งผลให้สีของฟันเปลี่ยนได้เช่นกัน เช่น ยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด บารักษาโรคหอบหืด ยาโรคความดันโลหิตสูง และอื่นๆ

***สำหรับบางคนฟันเหลืองอาจไม่ได้เกิดจากคราบหินปูนหรือสูบบุหรี่ แต่อาจเกิดจากพันธุกรรมที่มีสีเหลืองอ่อนๆ เพราะสีของโครงสร้างฟันหรืออายุที่มากขึ้นทำให้สีฟันเสื่อมลงได้

 

วิธีแก้ฟันเหลือง ให้กลับมาดูขาวสะอาด

  • รักษาความสะอาดช่องปากให้ดี – แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้าและก่อนนอน หรือเป็นไปได้แปรงทุกครั้งหลังมื้ออาหาร รวมถึงดูแลความสะอาดทั้งเหงือก ลิ้น และกระพุ้งแก้ม แปรงด้วยแปรงสีฟันเบาๆ ใช้ไหมขัดฟันและใช้น้ำยาบ้วนปากร่วมด้วย
  • ล้างพิษด้วยน้ำมัน – เรียกว่า oil pulling คือการใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา หรือน้ำมันดอกทานตะวัน มาดูดสารพิษออกจากฟัน อมแล้วกลั้วให้ทั่วปากประมาณ 15 นาที จากนั้นบ้วนทิ้งแล้วแปรงฟันให้สะอาด
  • ใช้ผงฟู หรือ Baking Soda – ปกติผงฟูเป็นส่วนประกอบของยาสีฟันอยู่แล้วซึ่งช่วยกำจัดคราบบนผิวฟัน ดังนั้นเราสามารถใช้ผงฟู 1 ช่อนชาผสมกับน้ำเปล่า 2 ช้อนชานำมาแปรงฟันจะช่วยกำจัดแบคทีเรียและคราบบนผิวฟันออก ทำประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • การฟอกสีฟัน – การใช้สารเคมีบางชนิดไปทำปฏิกิริยากับสารที่เคลือบบนผิวฟันหรือเนื้อฟันให้แตกออกและดูขาวขึ้น เป็นการฟอกสีฟันที่เห็นผลเร็วแต่มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องทำโดยทันตแพทย์เท่านั้น

 

วิธีป้องกันฟันเหลือง ไม่ให้กลับมาอีก

  • เลี่ยงดื่มชากาแฟและน้ำอัดลม – เลี่ยงชาและกาแฟจะช่วยลดสีที่เกาะบนผิวฟันลงได้ และน้ำอัดลมที่ทำให้ผิวฟันบางลง
  • งดการสูบบุหรี่ – เนื่องจากบุหรี่เป็นสาเหตุหลักๆ ของฟันเหลือง การงดบุหรี่จึงช่วยลดฟันเหลืองลงได้
  • การขูดหินปูน – การขูดหินปูนออกจะช่วยลดคราบที่เกาะอยู่บนผิวฟัน ทำให้ฟันดูขาวสะอาดขึ้น
  • พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน – เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปาก หากพบปัญหาจะได้รีบดูแลรักษา

 

สรุปเรื่อง ฟันเหลือง

คราบฟันเหลืองเกิดจากการดูแลความสะอาดของช่องปากที่ไม่ดีพอ เกิดสะสมของคราบจุลินทรย์ที่เกาะอยู่บนผิวฟัน เมื่อปล่อยไว้จะกลายเป็นหินปูนที่เชื้อโรคและเศษอาหารสามารถเกาะติดได้ เมื่อเกาะจะทำให้สีฟันเหลืองหรือคล้ำลงดูไม่สะอาด เสียบุคลิกภาพ ดังนั้นเราต้องดูแลความสะอาดให้ดีแปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม และบุหรี่ จะช่วยให้ฟันที่เคยเหลืองดูขาวขึ้นได้ แน่นอนว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยเร่งฟันขาวแต่มีค่าใช้จ่าย หากสนใจสามารถสอบถามจากทันตแพทย์ได้เลย เรื่องหน้าจะเกี่ยวกับอะไรติดตามได้เลยที่ lookhealthy.live

Share content

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

แพ้ไรฝุ่น
รู้ทันโรค
แพ้ไรฝุ่น ตัวก่อภูมิแพ้แก้ได้ไม่ยาก

ไรฝุ่น แมลงขนาดเล็กที่อาศัยอยู่รอบตัวเราแทบทุกที่จนมีโอกาสหายใจเอาพวกมันเข้าไปได้ตลอดเวลา ซึ่งบางคนเมื่อหายใจเอาไรฝุ่นเข้าไปก็เกิดอาการแพ้ไม่ว่าจะไอ จาม

Share content
ออฟฟิศซินโดรม
รู้ทันโรค
ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) โรคยอดฮิตของคนทำงานนั่งโต๊ะ

จากเรื่องที่แล้วได้พูดถึงโรคที่หลายคนมองข้ามแต่สำคัญว่าที่คิด หากปล่อยไว้ก็มีโอกาสเกิดโรคร้ายแรงตามมาได้ในเรื่อง โรคกระเพาะ ครั้งนี้จะมาพูดถึงอีกโรคที่หลายคนกำลังสนใจหรืออาจจะกำลังป่วยอยู่อย่างโรค

Share content
error: Content is protected !!