เสียวฟัน สัญญาณปัญหาสุขภาพในช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม

สารบัญบทความ

เสียวฟัน อาการสุดกวนใจเวลาจะกินอะไรก็ทำให้ไม่อร่อย กินลำบาก โดยเฉพาะเมื่อดื่มของร้อนหรือเย็นเข้าไปยิ่งทำให้รู้สึกทรมานเอามากๆ อาการเสียวฟันนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาในช่องปากที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งไม่ควรปล่อยไว้เพราะอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้นจนส่งผลเสียต่อรากฟัน ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับอาการเสียวฟันนี้กันว่าอาการเสียวฟันเป็นยังไง และวิธีแก้อาการเสียวฟันต้องทำยังไงบ้าง หากสนใจไปเข้าเนื้อหากัน

 

รู้จักกับอาการ เสียวฟัน

เสียวฟันเป็นอาการปวดฟันแบบปวดจี๊ดที่มักเกิดตอนกินอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม หรือตอนแปรงฟัน เกิดฟันสูญเสียชั้นเคลือบฟันทำให้เนื้อฟันได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมซึ่งไวต่อความรู้สึกจึงเกิดเป็นอาการเสียวฟันเมื่อมีความร้อนหรือความเย็นมาสัมผัส เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป มีสาเหตุหลากหลายซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการแปรงฟันหรือการกินที่ไม่เหมาะสม หากปล่อยไว้และยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจก่อให้เกิดโรคเหงือกและลุกลามจนเกิดปัญหาถึงรากฟันซึ่งจะยิ่งทำให้รู้สึกปวดเป็นอย่างมากเวลากินอาหาร

เสียวฟัน credit : <a href="https://www.freepik.com/free-photo/expressive-young-woman-posing_11199602.htm#query=Sensitive%20teeth&position=5&from_view=search&track=ais&uuid=d15f2572-77ec-4833-817e-9ff74f1a56dd">Image by shurkin_son</a> on Freepik
เครดิตภาพประกอบ : Image by shurkin_son on Freepik

 

อาการเสียวฟันเกิดจากอะไร

  • ชั้นเคลือบฟันบางลง เกิดจากการแปรงฟันแรง หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง เช่นน้ำอัดลม หรือของรสเปรี้ยวจัด
  • การใช้แปรงสีฟันที่มีขนแข็งมากเกินไป ทำให้ขัดเอาชั้นเคลือบฟันหลุดลอกไปด้วย
  • แปรงฟันบ่อยเกินไปหรือมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
  • เหงือกร่นจากการแปรงฟันแรง หรืออายุที่มากขึ้น
  • ฟันผุ ฟันร้าว หรือฟันแตก ทำให้มีช่องว่างให้เนื้อฟันสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม
  • รอยอุดหรือครอบฟันที่มีการเสียหาย
  • การนอนกัดฟันหรือนอนขบฟัน
  • ผลข้างเคียงจากการทำทันตกรรม เช่นการฟอกสีฟัน หรือการอุดฟัน

 

วิธีแก้อาการเสียวฟัน

ปรับพฤติกรรมการแปรงฟันให้เหมาะสม การแปรงฟันที่ดีควรแปรงอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวันเช้าและก่อนเข้านอน โดยเลือกใช้แปรงที่ขนไม่แข็งจนเกินไป แปรงให้ทั่วประมาณ 2 ถึง 3 นาทีก็เพียงพอ และไม่แปรงแรงจนเกินไป หากมีอาการเสียวฟันอยู่แล้วอาจเลือกใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันมาเป็นตัวช่วยบรรเทาอาการได้

เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีกรดสูง น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีกรดสูงจะทำให้เคลือบฟันชั้นนอกบางลง แนะนำให้เลี่ยงหรือลดการดื่มลงจะช่วยลดปัญหาอาการเสียวฟันลงได้

เลี่ยงการเคี้ยวของแข็ง การกัดหรือการเคี้ยวของแข็งๆ เช่นการเคี้ยวเมล็ดพืช การเคี้ยวน้ำแข็ง หรือการใช้ฟันเปิดขวด มีโอกาสทำให้ฟันสึกกร่อนหรือแตกได้ เป็นอีกสาเหตุของอาการเสียวฟัน

ดูแลสุขภาพเหงือกด้วยไหมขัดฟัน หลังจากแปรงฟันก่อนเข้านอนแนะนำให้ใช้ไหมขัดฟันทุกวันเพื่อลดคราบพลัคตามซอกฟันซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคเหงือก

พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน การเข้าพบทันตแพทย์จะช่วยให้ตรวจหาปัญหาอาการเสียวฟันได้ตรงจุด และช่วยให้รู้ถึงสุขภาพในช่องปากว่าปกติดีหรือกำลังมีปัญหาด้านใดที่กำลังจะเกิด

 

สรุปเรื่อง เสียวฟัน

อาการเสียวฟัน อาการปวดฟันแบบจี๊ดที่มักเกิดขึ้นเวลากินหรือดื่ม เกิดจากการที่เคลือบฟันชั้นนอกสุดบางลงจนเนื้อฟันสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดอาการเสียวฟัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการแปรงฟันที่ไม่เหมาะสมไม่ว่าจะแปรงแรงเกินไป แปรงบ่อยเกินไป หรือดื่มน้ำอัดลมบ่อย ทำให้การแก้อาการเสียวฟันจึงทำได้โดยปรับพฤติกรรมการแปรงฟันและดูแลสุขภาพเหงือให้ดี เท่านี้อาการเสียวฟันก็จะเริ่มลดลงจนหายไปในที่สุดได้ แต่หากทำตามคำแนะนำแล้วยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดถึงรากฟันให้เข้ารับการรักษากับทันตแพทย์เพื่อตรวจหาปัญหาและรักษาให้ตรงจุดจะดีที่สุด เรื่องหน้าจะเป็นเรื่องอะไรติดตามได้เลยที่ lookhealthy.live

 

ฝากบทความที่คุณอาจสนใจ >>> กลิ่นปาก ปัญหาช่องในปากทำลายความมั่นใจ

Share content

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ปวดหัวไมเกรน โรคไมเกรน ปวดหัวไมเกรนเป็นยังไง
รู้ทันโรค
ปวดหัวไมเกรน สาเหตุเกิดจากอะไร ปวดแบบไหนเรียกไมเกรน

ปวดหัวไมเกรน อาการปวดหัวที่รบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน กินยาแก้ปวดหัวก็ไม่ช่วยไม่ได้มากนัก ทำเอาไม่อยากทำอะไรไปตลอดทั้งวัน

Share content
นอนกรน
สุขภาพ
นอนกรน ปัญหาสุขภาพใกล้ตัวที่ควรใส่ใจ

จากครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องสำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอในเรื่อง ออกกำลังกาย กันไปแล้ว ครั้งนี้จะมาพูดถึงอีกเรื่องของสุขภาพที่สำคัญไม่แพ้กันซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งของตนเอง

Share content
มังสวิรัติ
การกิน
มังสวิรัติ ทางเลือกการกินสำหรับคนรักสุขภาพ

มังสวิรัติ อีกทางเลือกของการกินอาหารสำหรับคนที่ใส่ใจสุขภาพ หรืออยากลดการกินเนื้อสัตว์ลง ช่วยให้ลดโอกาสเสี่ยงโรคบางกลุ่มที่มักเกิดมากกว่าในผู้กินเนื้อสัตว์เป็นประจำ

Share content
error: Content is protected !!