ความดันสูง Hypertension โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

สารบัญบทความ

จากเรื่องที่แล้วเราได้พูดถึงโรคที่กำลังมีผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนที่ทำงานนั่งโต๊ะเป็นประจำอย่าง โรคออฟฟิศซินโดรม ถึงเรื่องอาการและการรักษากันไปแล้ว ครั้งนี้จะมาพูดถึงอีกโรคที่กำลังมีคนป่วยมากขึ้นไม่แพ้กันอย่าง ความดันสูง หรือ Hypertension ที่อาจเกิดจากมลภาวะ การกิน หรือใช้ชีวิตทั่วไปในแต่ละวันที่ส่งผลให้เกิดโรคความดันได้ง่ายขึ้น ว่าแต่ความดันสูงคืออะไร ความดันเท่าไหร่ถึงเรียกว่าสูง และมีวิธีลดความดันด้วยตนเองได้ยังไงไปดูกันเลย

 

ความดันสูง คืออะไร

ความดันสูง(Hypertension) คือ ภาวะของความดันในหลอดเลือดสูงเกินจากปกติ โดยปกติจากการวัดค่าความดันหากมีค่ามากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปกติจะไม่ค่อยแสดงอาการเท่าไหร่นัก แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานก็สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง เส้นเลือดแดงโป่งพอง ไตวาย และอื่นๆ อีกมากมาย และหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจมีความดันโลหิตสูงขึ้นจนอาจถึงขั้นทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต

ความดันสูง ความดันโลหิตสูง โรคความดันสูง
เครดิตภาพประกอบ : Epidemic photo created by freepik – www.freepik.com

 

ความดันสูงเท่าไหร่

การวัดความดันจะได้ค่าตัวเลข 2 ชุดคือ ความดันโลหิตบน(แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวเต็มที่) และความดันโลหิตล่าง(แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายเต็มที่) เช่น ความดัน 120/80 หมายความว่าความดันโลหิตตอนหัวใจบีบเต็มที่คือ 120 และ ความดันโลหิตตอนหัวใจคลายเต็มที่คือ 80 โดยการวัดค่าเพื่อวินิจฉัยจะแบ่งความดันโลหิตออกเป็นช่วงๆ ดังนี้

ระดับความดัน ความดันโลหิตบน ความดันโลหิตล่าง
ความดันปกติ 120 ถึง 129 80 ถึง 84
ความดันสูงเล็กน้อย 130 ถึง 139 85 ถึง 89
ความดันสูงเล็กน้อย 140 ถึง 159 90 ถึง 99
ความดันสูงปานกลาง 160 ถึง 179 100 ถึง 109
ความดันสูงมาก มากกว่า 180 ขึ้นไป มากกว่า 110 ขึ้นไป

 

ข้อปฏิบัติก่อนวัดความดัน

  • ไม่ดื่มชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์
  • ไม่ออกกำลังกายมาในช่วง 30 นาที
  • ถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
  • นั่งเก้าอี้พิงพนัก ไม่เกร็ง
  • ขณะวัดความดันไม่พูดคุย ไม่กำมือ

 

อาการของ ความดันสูง

ผู้ป่วยความดันสูงส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการมากนัก ส่วนใหญ่มักจะมีอาการที่สังเกตุได้คือ ปวดหัว เวียนหัว มึนงง คลื่นไส้ หน้ามืด และเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แต่หากปล่อยไว้นานจะทำให้เกิดภาสะแทรกซ้อนตามมาที่ค่อนข้างรุนแรงได้ดังนี้

  • ไตวายเรื้อรัง เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
  • หลอดเลือดหัวใจหนา หัวใจขาดเลือด และหัวใจวาย
  • หลอดเลือดตีบ โป่งพอง
  • จอประสาทตาเสื่อม
  • เส้นเลือดสมองตีบ หรือแตกทำให้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต

 

ปัจจัยของ โรคความดันสูง

ปัจจัยของ ความดันสูง มีหลายสาเหตุทั้งแบบที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ดังนี้

ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

  1. กรรมพันธุ์ – จากงานวิจัยพบว่าโรคความดันสามารถส่งต่อผ่านกรรมพันธุ์ได้ ทำให้ครอบครัวที่มีผู้ป่วยความดันจะมีโอกาสสูงกว่าคนทั่วไป
  2. เพศและอายุ – เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายโดยผู้ชายจะเกิดในช่วยก่อนอายุ 50 ปี แต่ผู้หญิงจะเกิดหลังอายุ 50 ปีขึ้นไป

 

ปัจจัยที่ควบคุมได้

  1. น้ำหนักตัวสูงหรืออ้วน – ผู้มีน้ำหนักตัวเยอะมักจะเป็นโรคความดันตามมาเสมอ
  2. ไขมันในเลือดสูง – อาจเกิดจากการกินอาหารไขมันสูง หรือคอเลสเตอรอลสูง
  3. กินอาหารรสจัด – การปรุงอาหารรสจัดหรือหรือเค็มจัดจะทำให้เลือดข้นจากโซเดียมและอื่นๆ
  4. ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ – ความดันเลือกจะสูงเมื่อดื่ม ปล่อยไว้นานจนหลอดเลือดหนาและตีบ
  5. ผู้ป่วยเบาหวาน – ภาวะการดื้ออินซูลิน หรือการป่วยเป็นโรคเบาหวานจะส่งผลต่อโรคความดัน
  6. ความเครียด – ภาวะเครียดจัดเป็นอีกสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
  7. ขาดการออกกำลังกาย – ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายจะมีโอกาสไขมันอุดตันในหลอดเลือดสูง

 

วิธีลด ความดันโลหิตสูง

วิธีลดความดันสูงจะลดจากปัจจัยที่ความคุมได้ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หรือ รับประทานยาใดๆ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีกาการรุนแรงหรือพบภาวะแทรกซ้อนควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์และทำการรักษาให้ถูกต้อง โดยวิธีการลดความดันสูงที่ทำด้วยตนเองได้มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ระบบหัวใจ และหลอดเลือดทำงานเป็นปกติ ขับของเสียออกจากร่างกายและมีรูปร่างที่ดีขึ้น
  • เลี่ยงอาหารสจัด – การกินอาหารรสจัดจะทำให้ร่างกายได้รับสารปรุงแต่งมากเกินไปโดยเฉพาะโซเดียมจากความเค็ม และจากอาการแช่แข็งต่างๆ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน – ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ ลดความข้นของเลือด และช่วยขับของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ – ควรนอนอย่างน้อย 6 ถึง 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่ ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอมักจะมีความดันสูง
  • เลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ – การดื่มของเหล่านี้จะมีสารที่ทำให้ร่างกายสดชื่นโดยกระตุ้นให้เลือดสูบฉีด หากไม่จำเป็นควรงดจะดีกว่า

 

ความดันสูงห้ามกินอะไร

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยความดันสูงที่อยากเลี่ยงการกินอาหารที่อาจส่งผลต่อความดันควร เลี่ยงอาหาร ตามรายการดังต่อไปนี้

  • อาหารใส่สารกันบูด
  • อาหารกระป๋อง
  • เครื่องปรุงรสต่างๆ
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ เบคอน ฯ
  • อาหารใส่ผงชูรส หรือก้อนซุปปรุงรส
  • ของหมักดอง เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาเค็ม

 

สรุปเรื่อง ความดันสูง

โรคความดันสูงเป็นโรคที่เกิดจากภาวะแรงดันในเลือดสูงกว่าปกติคือ 140/90 มิลลิปรอท โดยไม่ค่อยแสดงอาการมากนัก อาจแค่ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด หรือเหนื่อยง่าย แต่หากปล่อยไว้นานจะนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมายที่รุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรปฏิบัติตัวให้ความดันอยู่ในเกณฑ์ปกติจะดีที่สุด หากมีอาการรุนแรงหรือมีข้อสงสัยควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์โดยตรงเพื่อเข้ารับการรักษาก่อนจะเกิดโรคร้ายแรงที่อาจตามมาได้ สำหรับบทความเรื่องโรคความดันสูงขอจบเพียงเท่านี้

 

เครดิตข้อมูล
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/472
https://www.nakornthon.com/article/detail/ความดันโลหิตสูง-ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

เครดิตภาพปก : Medical checkup photo created by senivpetro – www.freepik.com

Share content

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

กลิ่นตัว กลิ่นตัวแรงเกิดจากอะไร กลิ่นตัวแรงแก้ยังไง
สุขภาพ
กลิ่นตัว ปัญหาใกล้ตัวกระทบความสัมพันธ์

จากครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงปัญหา กลิ่นปาก ที่เวลาพูดกับใครก็ทำเราเสียความมั่นใจกันไปแล้ว ครั้งนี้เรามากับอีกเรื่องที่ทำลายความมั่นใจไม่แพ้กันนั่นก็คือ

Share content
error: Content is protected !!