อาหารเช้า มื้อสำคัญสำหรับเริ่มต้นวันที่ดี

มื้อเช้า

จากเรื่องที่แล้วเราได้พูดถึงการเลือกกินสิ่งดีๆ ต่อสุขภาพกันไปแล้วในเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ ว่ากินแบบไหนถึงจะดีต่อสุขภาพมากที่สุด ครั้งนี้จะมาพูดถึงอีกเรื่องที่หลายคนมองข้ามกันเป็นประจำด้วยอาจเพราะความเร่งรีบในการใช้ชีวิตไม่ว่าจะจากงาน การเรียน หรืออื่นๆ นั่นก็คือ อาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้ออาหารสำคัญมากที่สุดสำหรับการเริ่มต้นวันที่ไม่ควรงดเลยหากไม่จำเป็น ว่าแต่อาหารเช้าสำคัญยังไงและได้ประโยชน์อะไรจากการกินอาหารเช้าบ้างไปดูกัน   อาหารเช้า สำคัญยังไง มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญต่อร่างกายมาก เพราะเป็นมื้อของการเติมพลังงานจากอาหารเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ในการทำกิจวัตรต่างๆ ในแต่ละวัน การกินมื้อเช้าจะส่งผลให้ร่างกายรู้สึกมีเรี่ยวแรง สมองปลอดโปร่ง ร่างกายและฮอร์โมนต่างๆ ทำงานได้อย่างเต็มที่ ยิ่งในวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโตยิ่งไม่ควรงดอาหารเช้าเลย แถมยังมีงานวิจัยว่าการกินมื้อเช้าเป็นประจำนั้นช่วยลดภาวะการเกิดอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย การงดอาหารเช้าจะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย จากการที่ร่างกายใช้พลังงานที่เก็บไว้จากส่วนต่างๆ ในร่างกายไปแล้ว แต่เมื่อตื่นก็ยังคงไม่ได้รับพลังงานมาเติมในส่วนที่ใช้ไปทำให้ร่างกายเปลี่ยนไปดึงพลังงานจากไขมันที่สะสมไว้แทนซึ่งนำมาใช้ได้ไม่เต็มที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ไม่งดมื้อเช้าจะดีที่สุดและไม่ควรงดมื้อเช้าเพื่อการลดน้ำหนัก   5 ประโยชน์ของ อาหารเช้า สมองปลอดโปร่ง มีสมาธิในการทำกิจวัตร เพราะสมองได้รับพลังงานทำให้ทำงานได้เต็มที่ทั้งเรื่องการทำงาน การเรียน อารมณ์คงที่ไม่หงุดหงิด และยังช่วยให้ระบบความจำดีขึ้นอีกด้วย ช่วยให้ควบคุมน้ำหนักได้ง่าย เพราะการอดอาหารหลังจากตื่นนอนจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้มื้ออาหารถัดไปจะหิวมากจนอาจทำให้กินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ หลังจากนอนหลับร่างกายจะเผาผลาญพลังงานน้อยลงเพราะไม่ได้รับอาหาร การกินอาหารเช้าจึงเป็นการกระตุ้นระบบเผาผลาญให้กลับมาทำงานตามปกติ ลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจและสมอง เพราะหลังจากตื่นนอนเลือดจะมีความเข้มข้นสูงมาก การรับประทานอาหารเช้าจะช่วยให้เลือดมีความเข้มข้นลดลงได้ส่งผลดีต่อระบบเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน การกินอาหารเช้าจะทำให้ความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารเช้ามากถึง 35% – 50% จากการที่ฮอร์โมนอินซูลินทำงานได้ปกติ   … Read more

error: Content is protected !!