โรครองช้ำ อาการ และวิธีบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นด้วยตนเอง

รองช้ำ

โรครองช้ำ อาการปวดบริเวณฝ่าเท้าทุกเช้าหลังตื่นนอนที่ทำให้การชีชีวิตประจำวันยากขึ้น พบได้บ่อยในคนที่มีอายุมาก แต่ก็สามารถพบได้ในวัยรุ่น หรือวัยทำงานเช่นกันหากมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายทำให้เกิดรองช้ำ ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นเรื้อรังหากไม่ได้รับการรักษา ดังนั้นครั้งนี้เราจะมาดูกันว่า รองช้ำ คืออะไร สาเหตุที่ทำที่ทำให้เกิดอาการมาจากไหน และมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยบรรเทาอาการปวด หรือรักษาเบื้องต้นด้วยตนเองได้บ้างไปดูกันเลย   โรครองช้ำ คืออะไร รองช้ำ (Plantar fasciitis) หรือทางการแพทย์เรียกว่า “โรคพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ” เกิดจากพังผืดใต้ฝ่าเท้าที่คอยรับ และกระจายแรงกระแทกมีอาการตึงจากการใช้งานหนัก หรือไม่ยืดเหยียดให้ดีก่อนใช้งานจนเกิดอาการอักเสบ  การผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บบริเวณส้นเท้าเวลาเหยียบลงพื้น และเมื่อฝืนเดินต่อไปจะรู้สึกปวดน้อยลง แต่จะกลับมาเป็นซ้ำๆ และมีอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมหาย ซึ่งรองช้ำนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแบบฉับพลัน โดยอาการบาดเจ็บนี้จะค่อยๆ สะสม เจ็บเล็กๆ น้อยๆ จนหลายคนละเลย ทำให้กว่าจะรู้ตัวก็ตอนเกิดอาการอักเสบขึ้นแล้ว   จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังมีอาการของโรครองช้ำ วิธีสังเกตว่าตนเองกำลังมีอาการของรองช้ำอยู่หรือเปล่านั้นไม่ยาก หลังจากตื่นนอนในตอนเช้าเมื่อก้าวลงจากที่นอนแล้วเกิดอาการเจ็บแปลบ แต่หลังจากเดินต่อเนื่องไปสักพักก็จะมีอาการเจ็บน้อยลง นั่นอาจคือสัญญาณที่บอกว่ากำลังมีอาการของโรครองช้ำ นอกจากนี้ยังเกิดในช่วงหลังจากไม่ได้เดินเป็นเวลานานเช่น นั่งทำงาน หลังขับรถ ซึ่งไม่ควรเพิกเฉยรีบหาวิธีรักษา หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาให้ถูกวิธี   ปัจจัยที่สงผลให้เกิดรองช้ำ ปัจจัยส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อโรครองช้ำมักจะเกี่ยวกับการทิ้งน้ำหนักตัวเป็นเวลานาน ทำให้พังผืดบริเวณฝ่าเท้าเกิดอาการตึง ไม่ยืดหยุ่น ผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้จะมีความเสี่ยงที่เกิดรองช้ำได้ หากเป็นไปได้ควรปรับพฤติกรรม หรือยืนเหยียดฝ่าเท้าก่อนการทำกิจวัตรประจำวันจะดีที่สุด … Read more

error: Content is protected !!